หม้อเคี่ยวน้ำปู๋ ทำจากดินเผาโดยไม่เคลือบ สูง 35 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางปากหม้อ 43 ซม. ก้นหม้อกว้าง 31 ซม.
น้ำปู่เป็นอาหารพื้นบ้านที่หายาก เพราะทำได้เฉพาะฤดูฝน โดยการนำปูนาสดมาตำกับสมุนไพร ได้แก่ ตะไคร้ ใบข่า ใบมะกอก และใบฝรั่ง จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนงวดเป็นน้ำปู๋ ในระหว่างเคี่ยว จะเติมน้ำมะกรูด น้ำมะนาว หรือเกลือ เพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้ ใช้เวลาต้มเคี่ยวสามวัน โดยการต้มเคี่ยวนี้จะมีกลิ่นแรงมาก ชาวบ้านจึงนิยมทำน้ำปู๋บริเวณหัวไร่ปลายนา เพื่อมิให้รบกวนเพื่อนบ้าน เมื่อเคี่ยวเสร็จแล้วให้พักไว้จนเย็นแล้วจึงเก็บใส่ออม ปูนา 10 กก. เมื่อผ่านกระบวนการจะได้น้ำปู๋เพียง 3-4 กก. เท่านั้น
อาหารยอดนิยมที่มีส่วนประกอบของน้ำปู๋ เช่น น้ำพริกน้ำปู๋กับหน่อไม้ต้ม ตำส้มโอ ยำผลไม้ หรือเป็นน้ำจิ้มของผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะขามฝักอ่อน มะเฟือง เป็นต้น แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่แพ้น้ำปู๋ กินแล้วมีอาการวิงเวียน ปวดหัว ดังนั้น เกือบทุกบ้านในภาคเหนือจะมียาแก้แพ้น้ำปู๋ติดไว้
หม้อเคี่ยวน้ำปู
อัพเดตเมื่อ 3 พ.ค. 2564
คำอธิบาย