เครื่องมือหีบอ้อย โดยการหั่นอ้อยเป็นท่อน ปอกเปลือกแล้ววางไว้ที่ปากช้าง โน้มกดปลายงวงลงมา ท่อนอ้อยเมื่อถูกหีบ จะมีน้ำอ้อยไหลออกมา
นอกจากนี้ ยังใช้คั้นน้ำกะทิจากเนื้อมะพร้าวที่ขูดแล้วได้ด้วย ตลอดจนหีบเมล็ดธัญพืช เช่น ถั่ว งา หรือละหุ่ง โดยการนำธัญพืชที่ถูกตำจนแหลกใส่ห่อให้เรียบร้อย แล้วจึงหีบเพื่อเอาแต่น้ำมัน
ที่เรียกว่าช้างหีบ เพราะส่วนคันโยกมีลักษณะคล้ายงวงช้าง ส่วนฐานรองท่อนอ้อย มะพร้าว หรือธัญพืช มีลักษณะคล้ายปากช้างหรือกรามช้าง
ส่วนประกอบสำคัญคือ
๑. ไม้งวงช้าง เป็นไม้คันโยกสำหรับโน้มกดเพื่อเค้นน้ำออกมา โดยต้องถากไม้ให้มีลักษณะคล้ายงวงช้าง โคนงวงใหญ่ ปลายงวงเรียวเล็ก ใช้จับโยกขึ้นลงได้ โคนงวงจะเจาะรูเพื่อสอดสลักเหล็กยึดไว้กับไม้ตั้ง โดยไม้งวงช้างจะยาวประมาณ ๑-๒ ม.
๒. ไม้ตั้งหรือไม้ลูกตั้ง เป็นไม้แผ่นหนา ยางประมาณ ๓๐ ซม. โดยต้องใช้สิ่วเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อให้ไม่โดนงวงช้างที่ถูกสอดเข้ามาหลวม ๆ จะได้โยกงวงขึ้นลงได้สะดวก ทั้งยังใช้สอดไม้เดือยปากช้างหรือกรามช้างให้ยึดแน่น โดยฐานล่างไม้ตั้งจะเข้าเดือยกับแผ่นไม้ขาวางหรือไม้ตีนช้าง
๓. ไม้ขาวางหรือไม้ตีนช้าง เป็นไม้แผ่นขนาดกว้างประมาณ ๔๐ ซม. ยาวประมาณ ๘๐ ซม. หน้า ๕ ซม. จะเจาะเข้าเดือยกับไม้ตั้งทำให้วางเครื่องมือได้อย่างมั่นคง
๔. ไม้ปากช้างหรือกรามช้าง ทำจากไม้แผ่นหน้ารูปร่างคล้ายปากช้างส่วนล่าง ติดตั้งตรงกลางระหว่างไม้งวงช้างกับไม้ตีนช้าง โคนปากจะกลมใหญ่ ส่วนปลายเรียว เจาะเป็นร่องโดยรอบ จากนั้นวางให้ลาดเอียงกับส่วนปลายปากช้างเล็กน้อย โดยไม้ปากช้างใช้วางสิ่งของที่จะหีบ น้ำจะไหลไปตามร่องลงสู่ภาชนะรองรับ
ช้างหีบอ้อย
อัพเดตเมื่อ 24 เม.ย. 2564
คำอธิบาย