ชงโลง



คำอธิบาย

ชงโลงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของชาวบ้าน มีลักษณะคล้ายเรือครึ่งท่อน แต่มีลักษณะเล็กกว่า ใช้วิดน้ำเพื่อทำการเพาะปลูกพืชพรรณต่าง ๆ หรือวิดน้ำจับปลาไว้เป็นอาหาร

วัสดุที่นำมาทำชงโลงใช้ผิวไม้ไผ่จักเป็นตอก และมักจะสานเป็นลายสองหรือลายสาม ที่ปลายขอบจะเหลาไม้ไผ่หนาประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ประกบตอกที่สานสานในส่วนปลายขอบ เพื่อให้มีความคงทนถาวรไม่หลุดลุ่ยได้ง่ายไม้ไผ่ที่ใช้สำหรับประกบนั้นจะมัด ด้วยหวาย ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า การขอดหัวหรือการขอดหัวแมลงวัน เป็นการผูกมัดเงื่อนหวายให้แน่นวิธีหนึ่ง  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบ เรียกว่า ขาหยั่ง ที่ทำจากลำไม้ไผ้ อีก 3 ลำอีกด้วย
ใช้สำหรับวิดน้ำหรือโพงน้ำ ส่วนใหญ่ใช้วิดน้ำเพื่อทำการเพาะปลูกพืชพรรณต่าง ๆ หรือวิดน้ำจับปลาไว้เป็นอาหาร เมื่อชาวนาจะวิดน้ำก็จะตั้ง “ขาหยั่ง” ซึ่งมีลักษณะเป็นค้ำยัน 3 เสา มีเชือกหย่อนลงมาตรงกลางสำหรับผูกกับชงโลง เมื่อพร้อมใช้แล้วก็ทำการวิดน้ำโดยจับหางของชงโลงเพื่อให้ส่วนหัวของชงโลงลงไปตักน้ำให้สาดไปด้านหน้าเหมือนไกวเปล

เป็นเครื่องมือหากินของคนในชุมชน ซึ่งช่วยในการผ่อนแรงของผู้ใช้ ในการทำการเกษตรหรือการหาปลา เพื่อยังชีพ และยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนนั้นๆอีกด้วย
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมานี้ได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีต่างๆมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุยษ์ จึงทำให้เกิดสิงประดิษฐที่ช่วยอำนวยความ

สะดวกขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือเครื่องสูบน้ำที่ไม่ต้องใช้แรงงานคน การใช้ชงโลงวิดน้ำเพื่อการเกษตรหรือการจับสัตว์น้ำ จึงค่อยๆสูญหายไป เพราะมีเครื่องสูบน้ำเข้ามาใช้แทนที่ แต่อย่างไรก็ดีในบางท้องถิ่นก็ยังคงมีการใช้ชงโลงอยู่บ้าง แต่เป็นชงโลงที่ใช้กระป่องหรือปี๊บทำ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบ ในการทำการเกษตรระดับครัวเรื่อนที่ใช้ตักน้ำรดแปลงผักเล็กๆ ดังนั้นในปัจจุบันชงโลงแบบดั้งเดิมคงจะพบเห็นได้แต่ตามพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามภาคต่างๆเท่านั้น