จระเข้ไม้ เป็นของเล่นเด็กใช้ขี่วิ่งเล่น หรือแขวนไว้เหนือเปลให้เด็กที่นอนอยู่เห็นแกว่งโยนไปมา การทำจระเข้ไม้ของเล่นเด็กนี้ ผู้สูงอายุเล่าให้ฟังว่า สมัยโบราณมีงานทำบุญทอดกฐินตามวัดต่าง ๆ มักจะเดินทางไปทางน้ำมากกว่าทางบก การสัญจรทางน้ำสะดวกกว่า วัดจะสร้างอยู่ใกล้ ๆ แม่น้ำ บางทีชาวบ้านจะทอดกฐินหรือทำบุญทอดผ้าป่าหลาย ๆ วัด อุปกรณ์นอกเหนือจากของใช้ภายในวัดและปัจจัยไทยทานต่าง ๆ แล้ว ชาวบ้านจะทำรูปจระเข้แขวนไว้ จระเข้จะทำด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง ขนาดตัวจระเข้ยาวเกือบ 100 เซนติเมตร
การที่ชาวบ้านนำจระเข้ไปกับกองบุญกองกุศลด้วย จระเข้จะได้ผลบุญการบำเพ็ญกุศลดังกล่าว เมื่อทอดกฐิน ทอดผ้าป่าเสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะนำจระเข้ไม้กลับบ้าน ให้ลูกหลานขี่จระเข้หรือมัดแขวนไว้ การทำจระเข้ระยะหลัง ๆ จะวาดภาพในฝืนฝ้ามากกว่าที่จะใช้ไม้แกะสลัก
วิธีทำ
นำแผ่นไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใช้ถ่านสีดำวาดรูปภาพจระเข้ลงในแผ่นไม้ เครื่องมือที่ถากฟันและแกะตัวจระเข้ มักใช้มีด สิ่ว ตกแต่เป็นตัวจระเข้ หากผู้ใหญ่ทำ จระเข้ไม้จะมีความสวยงามและประณีตมาก
วิธีเล่น
การเล่นจระเข้เพื่อขี่วิ่งแข่งขัน มักเป็นเด็กชายเล่นกันเป็นกลุ่ม ๆ มีอายุราว 10 ขวบขึ้นไป โดยกำหนดออกจากจุดเริ่มต้น ผู้ขี่จระเข้จะวิ่งให้สัญญาณวิ่งได้ ผู้ถึงเส้นชัยก่อนจะเป็นฝ่ายชนะการวิ่งแข่งขัน
การวิ่งแข่งขันจึงเสมือนจระเข้ตัวใดจะว่ายน้ำได้เร็วกว่ากัน ผู้ใหญ่ยังจะแขวนจระเข้ไม้ให้เด็กๆ ที่นอนอยู่ในเปลมองเล่น แกว่งโยนแยนไปตามแรงไกวเปลเด็กเห็นจะได้ไม่ร้องให้กวนใจ
วิดีโอ