ว่าวเป็นของเล่นเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งคาดว่ามีการเล่นมานานกว่า 700 ปีแล้ว ว่าวที่รู้จักตามพื้นบ้านทั่วไป คือว่าวอีลุ้ม ว่าวอีตุ้ย (ดุ๊ยดุ่ย) และว่าวจุฬา
การทำว่าวจะให้ว่าวขึ้นติดลมดี ต้องขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่นำมาสร้างเป็นตัวว่าว และฝีมือคนทำว่าวเป็นประการสำคัญ แม้ว่าวจะลอยขึ้นอยู่ในอากาศลักษณะนิ่งเฉย ผู้ทำว่าวจะถือว่ายังไม่ดีพอ ว่าวที่ทำได้ดีต้องเคลื่อนไหวโฉบส่ายไปมา
ว่าวอีลุ้ม นิยมทำมากกว่าว่าวชนิดอื่นๆ เพราะว่าวอีลุ้มทำง่ายและขึ้นง่าย ว่าวอีลุ้มมีลักษณเหมือนว่าวปักเป้า แต่ว่าวอีลุ้มพื้นบ้านที่ทำเล่นกัน มักมีขนาดใหญ่กว่า ไม้ที่ทำโครงว่าว ว่าวอีตุ้ย (ดุ๊ยดุ่ย) การเรียกชื่อว่า อีตุ้ยหรือดุ๊ยดุ่ย เรียกจากเสียงที่ใบลานหรือใบตาลซึ่งติดเป็นคันในเสียงตัวว่าว โดยกระทบกับแรงลม ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงดังขึ้น ว่าวจุฬา ชาวบ้านบางแห่งเรียกว่าว่าวหง่าว ตามเสียงที่ได้ยินจากคันเสียงเวลาปะทะกับแรงลม การทำว่าวจุฬาค่อนข้างจะทำได้ยากกว่าว่าวประเภทอื่น
วิธีทำ
ว่าวอีลุ้ม
1. นำไม้ไผ่สีสุกมาผ่าซีก และนำไปตากแดดให้แห้ง
2. เหลาซี่ไม้ส่วนปีกและส่วนอกว่าว ปลายไม้ส่วนปีกให้เรียวทั้งสองข้าง (ขนาดความยาวที่นิยมของไม้อกว่าวและไม้ปีกว่าว คือ ปีกหกอกห้า หมายถึง ถ้าไม้ปีกยาว 6 ส่วน ไม้อกว่าวควรยาว 5 ส่วน การวัดส่วนจะใช้หน่วยใดก็ได้ แล้วแต่ความต้องการว่าวตัวใหญ่ ตัวเล็ก)
3. ใช้เชือกป่านมัดปลายปีกสองข้างยึดปลายไม้อกว่าวด้านหาง
4. นำว่าวไปกรุกระดาษ
5. ผูกสายซุงและต่อหางว่าว
วิธีเล่น
หากเล่นคนเดียว เวลาจะขึ้นว่าว ให้เอาว่าววางราบบนพื้นโดยหันหัวว่าวมาด้านคนชัก ระยะห่างจากตัวประมาณ 2-3 เมตร แล้ววิ่งไปพร้อมกับกระตุกผ่อนสายป่านว่าวไปเรื่อยๆ ว่าวจึงจะขึ้นได้
แต่ถ้าเล่นกัน 2 คน ให้แบ่งเป็นคนส่งว่าว และคนชักสายป่านว่าว คนส่งว่าวให้ยืนด้านใต้ลม ระยะห่างประมาณ 10-15 เมตร โดยตั้งหัวว่าวขึ้นรอกระแสลม แล้วส่งว่าวขึ้นไป คนชักว่าวให้กระตุกและผ่อนสายป่าน จนว่าวขึ้นสูงติดลมบน จึงถือไว้นิ่งๆ หรือบังคับว่าวให้ส่ายไปส่ายมาตามความชำนาญของผู้เล่น ถ้าต้องการให้เกิดความสนุกตื่นเต้น อาจหัดทดลองกระตุกว่าว และผ่อนเชือกในช่วงของการกระตุก ว่าวจะปักหัวลงมา ให้กระตุกใหม่อีกครั้ง ทำให้เกิดความสนุกมากขึ้น