หมูกระดาษใช้เทคนิค papier-mâché ในการทำ เรามักเห็นหมูกระดาษเป็นสีแดงเขียนลายน่ารัก และเจาะหลังใช้เป็นออมสิน จูงใจให้เด็กๆ ออมเงิน .
ประโยชน์ของการเล่นหมูกระดาษ ด้านวิทยาศาสตร์ เรียนรู้สรีระเบื้องต้นของหมู ด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เรียนรู้และคิดสร้างวิธีเล่นใหม่ๆ หากได้ทำหมูกระดาษเอง สามารถตกแต่งโดยใช้สีและลวดลายที่หลากหลายตามแต่ประสบการณ์ของผู้ทำเอง ด้านภาษาและการสื่อสาร เช่น ตั้งชื่อให้หมูกระดาษ ด้านประสาทสัมผัส สำหรับเด็กเล็กฝึกสายตาด้วยการมองสีแดง รวมทั้งลวดลายบนหมูกระดาษ หมูกระดาษใช้เทคนิคการทำที่เรียกว่า papier-mâché หรือออกเสียงแบบไทยๆ ว่า เปเปอร์มาเช่ เป็นการประดิษฐ์ที่เกิดจากการปะกระดาษและใช้กาวเป็นตัวประสานโดยมีโม(mold) เป็นต้นแบบอยู่ข้างใน
วิธีทำ
แปะกระดาษ (หนังสือพิมพ์หรือกระดาษรีไซเคิล) ประสานด้วยกาวเพื่อขึ้นพิมพ์หมู 2 ฝั่งซ้ายและขวา นำตากแดด แกะจากพิมพ์ 2 ชิ้น มาประกอบกันเป็นตัวหมู ติดหาง แปะกระดาษประสานกาวอีกรอบเพื่อเป็นการประสานกระดาษหมู แล้วตากแดด แปะกระดาษประสานกาวอีกรอบ แล้วตากแดด แปะกระดาษ(สีขาว)อีกรอบ แล้วก็ตากแดด เมื่อหมูแห้งดีแล้ว เจาะรูสำหรับหยอดเงิน แล้วลงสี (cafevelodome: 2564 ออนไลน์)
วิธีเล่น
หมูกระดาษมีหลายขนาด ขนาดเล็กเท่าฝ่ามือเด็กจนขนาดใหญ่เด็กๆ สามารถนั่งเล่นได้ หมูกระดาษตัวเล็กๆ ผู้เล่นจะร้อยเชือกแล้วจูงลาก เล่นเป็นฟาร์มหมูตามแต่จินตนาการ แต่ถ้าเป็นหมูกระดาษตัวใหญ่ผู้เล่นที่เป็นเด็ก จะชอบใจขึ้นไปขี่เล่น นอกจากเป็นของเล่นแล้วหมูกระดาษยังเป็นของประดับตกแต่งและของที่ระลึก