ทำไมไก่จิกกระดาน เพราะมีการตึง และหย่อนของเชือก หากสังเกตตรงคอไก่จะมีจุดหมุนอยู่ 1 จุด ปลายด้านหนึ่งจะเป็นด้านที่เป็นหัวไก่ซึ่งจะหนักกว่าและอยู่ห่างจากจุดหมุนมากกว่า ปลายอีกด้านจะผูกเชือกติดกับลูกเจี๊ยบที่ห้อยอยู่ด้านล่าง ถ้าจับไว้เฉยๆ น้ำหนักของลูกเจี๊ยบจะทำให้เชือกตึงและดึงลงทำให้หัวไก่ทุกตัวยกขึ้น แต่ถ้ามีการแกว่างลูกเจี๊ยบในบางขณะ เชือกบางเส้นจะหย่อนทำให้หัวไก่ซึ่งหนักกว่านั้นตกลงจิกพื้น และบางเส้นจะตึงทำให้หัวไก่ขึ้น เมื่อแกว่งไปเรื่อยๆ ทำให้หัวไก่สลับกันขึ้นลงจนดูเหมือนไก่สลับกันจิกอยู่ สามารถควบคุมความเร็ว
ประโยชน์ของไก่จิกข้าว
ด้านร่างกาย ฝึกกล้ามเนื้อข้อมือในการแกว่ง รู้จักควบคุมน้ำหนักไม่แรงหรือเบาเกินไป ด้านจิตใจ เพลิดเพลินยามมองดูสิ่งเคลื่อนไหวและเสียงไม้กระทบกัน
ด้านปัญญา เรียนรู้เรื่องลมที่ทำให้เกิดการแกว่งและการแกว่งที่ส่งผลทำให้เกิดการขยับที่จุดหมุน นอกจากจะทำเป็นไก่จิกข้าวแล้ว สามารถเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ลิงกำลังสับมะพร้าว
ด้านสังคม ของเล่นที่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เด็กเล่น หากได้นั่งประดิษฐ์พร้อมกันจะทำให้เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์
วิธีทำ
เลือกไม้เนื้อนิ่มมาทำเพื่อการแกะสลักที่ง่าย เริ่มจากการทำฐานกลมโดยใช้แผ่นซีดีเป็นแบบ มาร์คตำแหน่งที่จะเจาะรูเพื่อติดตัวไก่ หลังจากนั้นเจาะรู และนำไก่ที่แกะสลักไว้แล้ว มาเจาะรูเพื่อทำการใส่สลักให้ไก่และฐานติดกัน ตัวไก่และหัวไก่จะแยกกัน โดยเจาะรูและร้อยเชือกที่บริเวณปลายคอไก่ นำสลักมาติดกับตัวไก่สำหรับยึดกับฐาน ขัดแต่งเก็บรายละเอียด นำหัวไก่มาร้อยเข้ากับตัวไก่โดยใช้ลวดยึดเป็นจุดหมุนระหว่างหัวกับตัวไก่ พอดึงเชือกหัวไก่จะผงกขึ้นลง เก็บรายละเอียด สำหรับลูกเจี๊ยบที่ใช้เป็นตัวถ่วงด้านล่างเจาะรูเพื่อติดปีกตกแต่งทำตาเก็บรายละเอียด นำไก่ที่จะอยู่บนฐานโดยมากจะใช้ 5 ตัว เอาสลักติดลงไปในรูที่เจาะแล้วดึงร้อยเชือกลงมา หลังจากนั้นพลิกให้ไก่คว่ำ ดึงเชือกให้ตึงเสมอกันทั้ง 5 เส้น ต้องวัดให้เท่ากันไม่ตึงหรือหย่อน แล้วขมวดปมเชือกเข้าด้วยกัน เช็คความตึงหย่อน หลังจากนั้นติดลูกเจี๊ยบที่ด้านล่างเข้ากับเชือกโดยการใช้สลักยึด ตกแต่งเก็บรายละเอียด
วิธีเล่น
ใช้มือจับที่ด้ามจับ แกว่งข้อมือเบาๆ ช้าๆ เพื่อให้ไก่ข้างล่างแกว่ง พอไก่ข้างล่างแกว่ง ไก่ข้างบนก็จะผลัดกันจิกข้าวไปมา
วิดีโอ